วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 2 พระธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

ตอนที่ 2 พระธรรม  
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ศาสนาสำคัญในประเทศไทย


             ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่และเชื่อว่าเกิดก่อนพุทธกาลไม่น้อยกว่า ๕,000 ปี  ตลอดจนเป็นต้นตำหรับของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม และอื่น ๆ
              การเกิดของศาสนาพราหมณ์แตกต่างกับศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลามที่เกิดขึ้นเพราะมีคน ๆ  หนึ่งค้นพบความสำเร็จในหลักธรรม  แล้วสั่งสอนคนทั้งหลายในฐานะเป็นศาสดาคำสอนที่ท่านสอนก็เป็นศาสนา    แต่ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาโดยคำสอนต่าง ๆที่เกิดขึ้นเพราะมีผู้รวบรวมลัทธิดั้งเดิมของชาวชมพูทวีป  (อินเดีย - เนปาล) ร้อยกรองเข้าเป็นรูปของศาสนาโดยมีการดัดแปลง แก้ไขอยู่เสมอ  เพื่อให้เข้ากับความเชื่อถือของประชาชน ซึ่งเป็นข้อแตกต่างกับศาสนาอื่นในแง่ที่ดึงศาสนาไปหาความเชื่อของคน แทนที่จะดึงความเชื่อของคนเข้าหาศาสนา... อ่านต่อ

ตอนที่ 2 พระธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ตอนที่ 2 พระธรรม  
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา


ความหมายของศาสนา

             พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ “ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้... อ่านต่อ

ตอนที่ 2 พระธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

ตอนที่ 2 พระธรรม  
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ




1. หน้าที่ชาวพุทธ
             ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
             1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร

             พระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ... อ่านต่อ

ตอนที่ 2 พระธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

ตอนที่ 2 พระธรรม  
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง


             แม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปเป็นเวลากว่า 2,500 ปีแล้ว แต่พระคุณของพระองค์ที่มีต่อชาวโลกก็ยังคงปรากฏอยู่ ชาวพุทธจึงควรระลึกถึงและประพฤติปฏิบัติตามพระคุณของพระองค์เพื่อให้เกิดผลดีแก่ตนและสังคมส่วนรวม พระมหากัจจายนะ พระภัทรากัจจานาเถรี และนางขุช  ชุตตรา มีประวัติ ผลงาน และคุณธรรมที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษา ดังนั้นเราจึงควรศึกษาประวัติของท่านเหล่านี้ และนำคุณธรรมมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธคุณ 9 ประวัติและคุณธรรมของพระมหากัจจายนะ พระภัททากัจจานาเถรี นางขุชชุตตรา รวมทั้งสามารถนำคุณธรรมของท่านเหล่านั้นมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้... อ่านต่อ

ตอนที่ 2 พระธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา

ตอนที่ 2 พระธรรม  
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา



    การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา
การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา
          ในขณะที่สวดมนต์ถือเป็นการ บริหารจิตและเจริญปัญญาเบื้องต้น จะทำให้มีสติและสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันเสมอ การไหว้พระสวดมนต์ โดยมากนิยมทำในตอนเช้าและก่อนนอน หรือทำก่อนที่เราจะฝึกสมาธิซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกจิตสงบ มีสมาธิ และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย... อ่านต่อ

ตอนที่ 2 พระธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

ตอนที่ 2 พระธรรม  
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต


พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก 
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก
          พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย 
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท... อ่านต่อ

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 2 พระธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

ตอนที่ 2 พระธรรม  
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- พระพุทธ คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
- พระธรรม คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
- พระสงฆ์ คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม... อ่านต่อ


ตอนที่ 1 พระพุทธ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

ตอนที่ 1 พระพุทธ  
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี


1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
1) วันมาฆบูชา
            วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
นวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
            หลักคำสอน 3 ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป... อ่านต่อ








ตอนที่ 1 พระพุทธ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พุทธประวัติและชาดก

ตอนที่ 1 พระพุทธ  
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พุทธประวัติและชาดก


1. พุทธประวัติ
             ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติในด้านการตรัสรู้และการก่อตั้งพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว ส่วนในระดับชั้นนี้นักเรียนจะได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาเพื่อที่จะได้น้อมนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาและปฎิบัติต่อไป... อ่านต่อ

ตอนที่ 1 พระพุทธ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

ตอนที่ 1 พระพุทธ 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา 


พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย
            พระพุทธศาสนานอกจากจะเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยแล้วพระพุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทยอีกด้วย จะเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา ความคิดและกิจกรรมทุกด้านของชาติไทยล้วนผสมผสานอยู่ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา    พระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมจิตชีวิตจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงเบิกบาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แสดงความเป็นมิตร ยินดีในการให้แบ่งปันให้ความช่วยเหลือ เป็นคนมีน้ำใจ อันเป็นลักษณะเด่นชัดที่ชนต่างชาติประทับใจ และตั้งสมญานามเมืองไทยว่า  “สยามเมืองยิ้ม"ภาษาไทยที่มีใช้อย่างสมบูรณ์ก็เพราะเราได้นำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในพระพุทธศาสนามาใช้ด้วย ชื่อ จังหวัด เช่น ราชบุรี ธนบุรี เป็นต้น แม้แต่ชื่อสิ่งของที่ใช้ในปัจจุบันก็นิยมนำภาษาบาลีมาใช้ เช่นรถยนต์ เกษตรกรรม ชื่อคน วินัย วีรกรรม สุวรรณา เป็นต้น... อ่านต่อ